วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Present Perfect Continuous and Future Perfect Continuous

Present Perfect Continuous

(ภาพคล้าย Present Perfect แต่วิธีใช้ต่างกัน)
โครงสร้าง: S. + has/have + been + V.ing
ตัวอย่างประโยค:
  • I have been eating pizza for 2 hours. — ฉันทานพิซซ่ามา 2 ชั่วโมงแล้ว
ใช้ใน: เหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาหนึ่งจนมาถึงปัจจุบัน และตอนนี้อาจจะเสร็จหรือยังไม่เสร็จก็ได้
ดูตรงไหน: ดูตัวบอกช่วงเวลา (for _, since ____) และดูโครงสร้าง

Future Perfect Continuous

(ภาพคล้าย Future Perfect แต่วิธีใช้ต่างกัน)
โครงสร้าง: S. + will + have + been + V.ing
ตัวอย่างประโยค:
  • I will have been eating pizza for 2 hours when you arrive. — ฉันจะทานพิซซ่าเป็นเวลา 2 ชั่วโมงตอนคุณมาถึง
ใช้ใน: เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (ได้ทั้งอดีตและอนาคต) ก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่งที่จะเกิดในอนาคต และเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่สอง เหตุการณ์ที่หนึ่งอาจจบหรือยังไม่จบก็ได้
ดูตรงไหน: ดูตัวบอกช่วงเวลา (for _, since ____) และดูโครงสร้าง, สังเกตุคำบอกช่วงเวลาที่บ่งบอกถึงอนาคต

Future Perfect and Past Perfect Continuous

Future Perfect

โครงสร้าง: S. + will + have + V.3
ตัวอย่างประโยค:
  • I will have _already eaten pizza by the time you arrive. — ฉันจะทานพิซซ่าหมดตอนเวลาที่คุณมา (ตอนนี้ไม่ได้กิน)
  • หรือจะแทน will ด้วย is/am/are + going to ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน
    I am going to have been here for 3 days by the time he come back. — ฉันจะอยู่ที่นี้เป็นเวลา 3 วันในตอนที่คุณกลับมา (ตอนนี้อยู่ที่นี่)
ใช้ใน: เหตุการณ์ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นก่อนอีกเหตุการณ์หนึ่ง โดยเหตุการณ์แรกต้องเสร็จก่อนเหตุการณ์สอง, เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่และจะเสร็จในอนาคตก่อนเหตุการณ์ที่สองจะเกิด
ดูตรงไหน: จะไม่มีคำบอกเวลาอย่างเจาะจงเด็ดขาด และดูโครงสร้างประกอบ

Past Perfect Continuous

(ภาพคล้าย Past Perfect แต่วิธีใช้ต่างกัน)
โครงสร้าง: S. + had + been + V.ing
ตัวอย่างประโยค:
  • I had been eating pizza for 2 hours when you arrived. — ฉันทานพิซซ่ามา 2 ชั่วโมงตอนที่คุณมา
  • He failed the test because he had not been paying attention in class. — เขาเคยสอบตกเพราะเขาไม่ตั้งใจเรียนในคาบเรียน
ใช้ใน: เหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาหนึ่งก่อนจะเกิดอีกเหตุการณ์หนึ่ง, สาเหตุของเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในอดีต
ดูตรงไหน: ดูตัวบอกช่วงเวลา (for _, since ____) หรือ ดูคำที่บ่งบอกสาเหตุ (เช่น because), ดูโครงสร้าง


Past Perfect and Present Perfect

Past Perfect

โครงสร้าง: S. + had + V.3
ตัวอย่างประโยค:
  • I had already eaten pizza when you arrived.— ฉันทานพิซซ่าหมดไปแล้วตอนคุณมา
  • I had never been to London before last January. — ฉันไม่เคยไปลอนดอนเลยก่อนเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ใช้ใน: เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่จบไปแล้ว ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ที่สอง
ดูตรงไหน: ดูโครงสร้างของประโยค แล้วเอามาลองแปลเป็นภาษาไทยดู สังเกตุหาคำว่า “already”, “never”, “ever”

Present Perfect

โครงสร้าง: S. + has/have + V.3
ตัวอย่างประโยค:
  • I have already eaten pizza. — ฉันทานพิซซ่าหมดไปแล้ว (และตอนนี้กำลังนั่งจ้องกล่องพิซซ่าเปล่าๆ อยู่)
  • I have been to London. — ฉันเคยไปลอนดอน (เคยเกิดขึ้นในอดีต ตอนนี้อยู่ไทย)
  • He has learned how to drive. — เข้าเรียนรู้วิธีการขับรถ (ตอนนี้ขับเป็นแล้ว)
  • He has not arrived yet. — เขายังมาไม่ถึง (ตอนนี้นั่งรออยู่)
ใช้ใน: เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตที่ไม่เจาะจงเวลา ที่เกิดขึ้นก่อนปัจจุบัน, การเล่าประสบการณ์, ความสำเร็จ, เหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่คาดไว้ว่าจะเกิดขึ้น
ดูตรงไหน: จะไม่มีคำบอกเวลาอย่างเจาะจงเด็ดขาด และดูโครงสร้างประกอบ

Present Continuous and Future Continuous

Present Continuous

โครงสร้าง: S. + is/am/are + V.ing
ตัวอย่างประโยค:
  • I am eating pizza right now. — ฉันกำลังทานพิซซ่าในตอนนี้
ใช้ใน: เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะที่กำลังพูดอยู่
ดูตรงไหน: ดูความหมายของตัวบอกเวลา และดู V.ing

Future Continuous

โครงสร้าง: S. + will + be + V.ing
ตัวอย่างประโยค:
  • I will be eating pizza at 8 PM. — ฉันจะกำลังทานพิซซ่าตอน 2 ทุ่ม
  • I will be watching T.V. when you arrive. — ฉันจะดูทีวีอยู่ตอนที่คุณมา
ใช้ใน: เหตุการณ์ในอนาคตที่จะเกิดขึ้นในเวลาที่ระบุไว้, เหตุการณ์ในอนาคตที่ถูกแทรกโดยอีกเหตุการณ์หนึ่ง
ดูตรงไหน: ดูตัวบอกเวลาที่เป็นอนาคต และดูโครงสร้างของประโยค

Past Continuous

Past Continuous

โครงสร้าง: S. + was/were + V.ing
ตัวอย่างประโยค:
  • I was eating pizza when you arrived. — ฉันกำลังทานพิซซ่าในขณะที่คุณมา
ใช้ใน: เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและถูกแทรกโดยอีกเหตุการณ์หนึ่ง
ดูตรงไหน: ดู was/were และ V.ing เป็นหลัก และดูประโยคที่บอกเวลาว่ามันเกิดในอดีต

Future Simple

Future Simple

โครงสร้าง: S. + will + V.1
ตัวอย่างประโยค:
  • I will eat pizza tomorrow. — ฉันจะทานพิซซ่าในวันพรุ่งนี้
  • หรือจะแทน will ด้วย is/am/are + going to ก็ได้ มีความหมายเหมือนกัน
    I am going to eat pizza tomorrow. — ฉันจะทานพิซซ่าในวันพรุ่งนี้
ใช้ใน: เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ระบุเวลา
ดูตรงไหน: ดู will / going to และดูคำบอกเวลาในอนาคต

Past Simple

Past Simple

โครงสร้าง: S. + V.2
ตัวอย่างประโยค:
  • ate pizza yesterday. — ฉันทานพิซซ่าเมื่อวานนี้
ใช้ใน: เหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีตและจบไปแล้ว
ดูตรงไหน: ดูตัวบอกเวลาที่เป็นในอดีต (yesterday, last _) และกริยา
เริ่มกันที่ง่ายๆ ตัวนี้ก่อนเลย เป็นตัวที่บอกเหตุการณ์ในอดีตแบบง่ายๆ ไม่มีอะไรมาก เป็นเหตุการณ์ที่จบไปแล้ว ให้สังเกตุที่ตัวบอกเวลาว่าเป็นเวลาในอดีตหรือเปล่า



present simple

Present Simple Tense (Tense ปัจจุบันธรรมดา)
Present  เพร๊เซินท= ปัจจุบัน
Simple ซิ๊มเพิล = ธรรมดา

โครงสร้าง

S + V1 (ประธานเอกพจน์ กริยาเติม s,es)
ประธาน + กริยาช่องที่ 1 (ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ กริยาต้องเติม s หรือ es แล้วแต่กรณี)
S + กริยาช่วย + V1
ประธาน + กริยาช่วย + กริยาช่องที่ 1 (ไม่ต้องเติม s ทุกกรณี)
กริยาช่วยที่ใช้บ่อยคือ can, should, must
Tense นี้ค่อนข้างจะยุ่งยากนิดหน่อยตรงที่ประธานเอกพจน์ต้องเติม s ส่วนประธานพหูพจน์ไม่ต้องเติม สิ่งที่จะสร้างความยุ่งยากนิดหนึ่งคือการเติม s เพราะกริยาบางตัวต้องเติม es ไม่ใช่แค่ s เฉยๆ แต่ไม่ใช่เรื่องยากถ้าได้ศึกษาการเติม s ที่้ท้ายคำนามเพื่อให้นามนั้นเป็นพหูพจน์

หลักการใช้

ในหนังสืออาจจะบอกไว้หลายข้อ แต่ให้ผู้เรียนจำไว้แค่ 2 ข้อ คือ จริงและวัตร
1. จริง คือ ข้อเท็จจริงทั่วไป ซึ่งเป็นการบอกกล่าว เล่า ถามเรื่องราว เหตุการที่เป็นข้อเท็จริงทั่วๆไป (facts) และข้อมูลข่าวสาร (information)
  • ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคนจะเป็นข้อมูลบอกให้รู้ว่าเขาเป็นใคร มาจากไหน มีอาชีพอะไร ชอบอะไร เป็นต้น
His name is Somchai. ชื่อ ของเขา คือ สมชาย
He comes from Thailand. เขา มา จาก ประเทศไทย
He is a doctor. เขา เป็น หมอ
He can play football. เขา สามารถ เล่น ฟุตบอล
  • ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ก็จะเป็นการบอกให้รู้ว่ามันคืออะไร รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ลักษณะนิสัยใจคอ แหล่งที่อยู่ เป็นต้น
Elephants are the largest  land animals. ช้าง เป็น สัตว์ บก ที่ใหญ่ที่สุด
They have 28 teeth. พวกมัน มี ฟัน 28 ซี่
They eat grass. พวกมัน กิน หญ้า (เป็นอาหาร)
They can swim. พวกมัน สามารถ ว่ายน้ำ
  • ถ้าเป็นสิ่งของก็จะบอกให้รู้ว่ามันคืออะไร ทำมาจากอะไร ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
This is a Japanese car. นี่ คือ รถยนต์ ญี่ปุ่น
It is very expensive. มัน มีราคาแพง มาก
The company is in Japan. บริษัท อยู่ ใน ญี่ปุ่น
  • ถ้าเป็นสถานที่ก็จะเป็นข้อมูลข่าวสารของสถานที่นั้น เช่น ถ้าเป็นกรุงเทพ ก็จะเป็นข้อมูลของประชากร พื้นที่ สถานที่สำคัญๆต่างๆเป็นต้น
Bangkok is the capital city of Thailand. กรุงเทพ เป็น เมืองหลวง ของ ประเทศไทย
It has 50 districts. มัน มี 50 อำเภอ (เขต)

gerund

 Gerund คือ คำกริยา + ing หรือ v-ing
    Gerund มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับ present participle แต่ทำหน้าที่ต่างกัน นั่นคือ present participle ทำหน้าที่เป็น ‘predicative adjunct’ และ ‘คุณศัพท์’ ส่วน
gerund ทำหน้าที่เป็น ‘คำนาม’
    เมื่อ gerund เป็น ‘คำนาม’ gerund จึงทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้
    1. ใช้เป็นประธานของประโยค

    2. ใช้เป็นกรรมของบุพบท

    3. ใช้เป็นกรรมของคำกริยา vt

    4. ใช้ตามหลัง verb to be เพื่อแสดงตัวตนของประธาน (subjective comple-ment)
 
1. การใช้ gerund  เป็นประธานของประโยค
    การใช้ gerund เป็นประธานของประโยคนี้ เราสามารถสร้างเองได้ โดยการนำคำ
กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับหรือที่ต้องมีกรรมมารองรับคำใดก็ได้มาทำเป็น gerund
โดยการเติม –ing เข้าไปที่คำกริยาคำนั้น แล้วก็นำมาเป็นประธานของประโยคได้ทันที
ดังต่อไปนี้
   Eating healthily is good for you.

   Playing football is his favorite sport.
   Watching movie is her leisure.
   Reading English novel is very easy.
   Being punished is hard for him to accept.
2. การใช้ gerund เป็นกรรมของคำบุพบท
    การใช้ gerund เป็นกรรมของคำบุพบทนี้ เราสามารถสร้างเองได้ แล้วก็นำ gerund นั้นๆมาเป็นกรรมของคำบุพบทได้ดังต่อไปนี้
I’ll prevent it from happening.
Pope and Mew are good at making their fans happy.
She is afraid of being alone in the dark.
I’m used to eating cold meal.
He has succeeded in getting the engine to start.
They applied themselves to helping children in need.
    –Surfing English websites is better than going out.
3. การใช้ gerund เป็นกรรมของคำกริยา vt

    คำกริยา vt คือ transitive verb หรือคำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ
    การใช้ gerund เป็นกรรมของคำกริยา vt หรือคำกริยา vt + gerund นี้ เราไม่
สามารถสร้างเองได้ แต่ต้องใช้ตามที่นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดไว้เท่านั้น
    คำกริยา vt ที่นักภาษาศาสตร์กำหนดให้ใช้กับ gerund จะมีทั้งคำกริยา vt +
gerund ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวันและใช้ไม่บ่อย ดังต่อไปนี้

คำกริยา vt + gerund ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน
    –begin doing sth = เริ่มการทำบางสิ่ง

    –start doing sth = เริ่มการทำบางสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน

    –continue doing sth = ดำเนินการทำบางสิ่งที่ทำค้างไว้ต่อไป
    –enjoy doing sth = มีความสำราญกับการทำบางสิ่ง
    –finish doing sth = เสร็จสิ้นการทำบางสิ่ง
    –forget doing sth = ลืมการทำบางสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว
    –keep doing sth = ดำเนินการทำบางสิ่งต่อไป
    –like doing sth = ชื่นชอบการทำบางสิ่ง
    –love doing sth = ชื่นชอบการทำบางสิ่ง

    –prefer doing sth = ชื่นชอบการทำบางสิ่งมากกว่าทำสิ่งอื่น

    –stop doing sth = หยุดการทำบางสิ่ง
คำกริยา vt + gerund ที่ใช้ไม่บ่อย

    –admit doing sth = ยอมรับการทำบางสิ่ง

    –avoid doing sth = หลบเลี่ยงการทำบางสิ่ง

    
–get doing sth = เริ่มการทำบางสิ่ง
    –consider doing sth = พิจารณาการทำบางสิ่ง
    –deny doing sth = ปฏิเสธการทำบางสิ่ง
    –hate doing sth = ไม่ชอบการทำบางสิ่ง

    –imagine doing sth = จินตนาการทำบางสิ่ง
    –intend doing sth = ตั้งใจทำบางสิ่ง
    –mean doing sth = มีความหมายเท่ากับการทำบางสิ่ง
    –mind doing sth = ไม่อนุญาตการทำบางสิ่ง

    –need doing sth = จำเป็นต้องได้รับการทำบางสิ่ง
    –want doing sth = ต้องการได้รับการทำบางสิ่ง
    –practise/practice doing sth = ฝึกฝนการทำบางสิ่ง
    –regret doing sth = เสียใจกับการทำบางสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว
    –remember doing sth = จำการทำบางสิ่งที่ได้ทำไปแล้วได้
    –risk doing sth = เสี่ยงต่อการทำบางสิ่ง
    –suggest doing sth = แนะนำการทำบางสิ่ง
    –try doing sth = พยายามทำบางสิ่งให้สำเร็จลุล่วง
    –(can’t) face doing sth = (ไม่อาจ) เผชิญหน้ากับการทำบางสิ่งได้
    –(can’t) help doing sth = (ไม่อาจ) หยุดการทำบางสิ่งได้

    –(can’t) resist doing sth = (ไม่อาจ) หยุดการทำบางสิ่งได้
    –(can’t) stand doing sth = (ไม่อาจ) ทนต่อการทำบางสิ่งได้
    –(not) bother doing sth = (ไม่) สนอกสนใจต่อการทำบางสิ่ง
    –give up doing sth = เลิกการทำบางสิ่ง
      –Don’t give up working it out.
        อย่าเลิกการค้นหาคำตอบ

    –put off doing sth = ชะลอการทำบางสิ่ง
      –They put off raising interest rates.
        พวกเขาชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป
    Gerund คือคำกริยาใดๆที่เรานำมาเติม ing เอาเอง เพื่อทำให้กลายเป็น gerund
ดังนั้น gerund ที่เป็นกรรมของคำกริยา vt ทั้งหมดข้างต้นจึงสามารถเปลี่ยนไปได้
ตลอดเวลาตามสถานการณ์การใช้ของเรา เช่น

    –You prefer watching TV but I prefer surfing English websites.
   การใช้ gerund เป็นกรรมของคำกริยา vt นี้ เป็นการใช้แบบสำเร็จรูป ซึ่ง
นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดไว้แล้ว เราจึง
ไม่สามารถนำคำกริยา vt ใดๆไปใช้
กับกรรมที่เป็น gerund ได้เองตามใจชอบ 
ดังนั้น gerund ต้องใช้กับคำกริยา
vt ดังกล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น


    เมื่อเป็นดังนี้ ถ้าท่านผู้อ่านพยายามท่องจำคำกริยา vt + gerund แบบ
สำเร็จรูปเหล่านี้ไว้ได้มากเท่าใด เราก็ยิ่งจะใช้คำกริยา vt + gerund ได้ถูก
ต้องในแบบที่เจ้าของภาษาใช้มากขึ้นเท่านั้น
 

   โดยในขั้นต้นนี้ จะท่องจำเฉพาะคำกริยา vt + gerund ที่ใช้บ่อยก่อนก็ได้
เมื่อใช้จนคล่องแล้วค่อยมาท่องจำคำกริยา vt + gerund ที่เหลือ
4. การใช้ gerund ตามหลัง verb to be เพื่อแสดงตัวตน
  ของประธาน
    เราสามารถใช้ gerund ตามหลัง verb to be เพื่อแสดงตัวตนของประธาน (sub-jective complement) ได้ดังต่อไปนี้

    –Her mistake is going out with him.                                                           ความผิดพลาดของเจ้าหล่อนก็คือการออกไปกับเขา
    –Our ambitions are being good at English.                                                 ความทะเยอทะยานของพวกเราก็คือการเก่งภาษาอังกฤษ
    ขอให้สังเกตด้วยว่าทั้ง is going out with him และ are being good at
English นั้น หาใช่ present continuous แต่ประการใดไม่ แต่ going out with
him คือ ตัวตนของประธาน Her mistake โดยมี verb to be คือ is เป็นตัวเชื่อม (linking verb)

    และ being good at English ก็คือ ตัวตนหรือ subjective complement ของประธาน Our ambitions โดยมี are เป็นตัวเชื่อม

    การใช้ gerund ตามหลัง verb to be เพื่อแสดงตัวตนของประธาน (subjective complement) นี้เราสามารถสร้างเองได้ ดังประโยคตัวอย่างที่แสดงไว้

    อนึ่ง การใช้ gerund ในข้อ 4 นี้ค่อนข้างยากเล็กน้อย เพราะเป็นการใช้ในขั้นสูง
(advanced) ถ้าท่านผู้อ่านอ่าน 2-3 เที่ยวแล้วยังไม่เข้าใจก็ให้ข้ามไปก่อนได้ แล้ววันหลัง
มีเวลาค่อนย้อนกลับมาอ่านใหม่ ก็จะเข้าใจได้เอง

in finitive with to

หลักการใช้ Infinitive with to

หลักการใช้ Infinitive with to
  1.  แสดงความปรารถนา ขอร้อง หรือ คำสั่ง
             Verb + to infinitive
    เช่น He asked me to wash his car. (ขอร้อง)
    2. แสดงวัตถุประสงค์ หรือ เหตุผล
   เช่น She gets up early to see the sunrise.
    3. ปกติถ้าแสดงวัตถุประสงค์ทั่วๆ ไป จะใช้ for + gerund
     เช่นA knife is a tool for cutting with.
    แต่ถ้าแสดงวัตถุประสงค์เฉพาะจะใช้ ‘to’ infinitive
    เช่น I want a knife to cut the bread with.
    4. เป็นคำสั่งหรือหน้าที่ หรือแผนการที่มีความหมายว่าต้องกระทำ
              to be + ‘to’infinitive
       Peter and Ann are to get married next month. (แผนการ)
    5. แสดงอนาคตอันใกล้   to be about + ‘to’ infinitive
                They are about to start.
    6. ใช้กับ the first, the second…+ ‘to’ infinitive
the last /theonly……                                             
เช่น  I love parties : I ‘m always the first to come.       (=who come)
   7. แสดงกริยานั้นๆ ถูกกระทำ       noun + ‘to’ infinitive
   She has homework to do. (that she must do)
   8.ใช้กับ adj. ที่แสดงคุณสมบัติของนามที่มาข้างหน้า   adjective
ดังกล่าว   เช่น careless, good , honest, kind, nice, selfish, silly , stupid, wise etc.
adjective + of+ pronoun (noun) +’to’ infinitive
เช่น It is nice of her to help me.
    9. ใช้ตามหลัง adjective ที่แสดงอารมณ์ เช่น amazed, dis appointed, surprised , sad   เช่น I was surprised to meet Gere here.
    10. ใช้กับ too    too + adj/adv. + ‘to’infinitive
    เช่น  No one is too old to learn.
    11. ใช้กับ enough  adj./adv. + enough + ‘to’infinitive  
        เช่น  Ann is tall enough to reach the top shelf.
enough + noun + ‘to’ infinitive
เช่น  We have not enough time to see the movie.
     12. ใช้กับ so…….as   so + adj./adv. + as + ‘to ‘infinitive                                     
เช่น   Tom was so careless as (careless enough) to leave his house unlocked..
1. กริยาต่อไปนี้ ถ้าตามด้วยกริยาอีกตัว จะอยู่ในโครงสร้าง Verb +       to……….(infinitive)
afford           agree          aim                attemt 
Arrange         decide        deserve   fail 
Forget              hope           learn         manag
offer                    plan          promise     refuse 
threaten
       Example                                                                                                                                                                                             It was late, so we decided to take a taxi home.
Simon was in a difficult situation, so I agreed to lend him some money.         
2. กริยาต่อไปนี้ ตามด้วย Verb + to หรือ Verb + object +    to…
ask               beg          expect           help         
mean(=intend)          would            hate 
Would like     would love        would prefer

Present Perfect Continuous and Future Perfect Continuous

Present Perfect Continuous (ภาพคล้าย Present Perfect แต่วิธีใช้ต่างกัน) โครงสร้าง:  S. + has/have + been +  V.ing ตัวอย่างประโยค: I h...